วันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เห็ดฟาง
เห็ดฟาง คนไทยรู้จักบริโภคอาหารจากเห็ดฟางมานานแล้ว เพราะมีรสดีมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าพืชผักหลายชนิด และไม่มีการใช้สารฆ่าแมลง การเพาะก็ทำได้ง่าย วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้เพาะก็หาได้ง่าย ส่วนใหญ่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และการเพาะเห็ดฟางก็สามารถ ทำได้ตลอดทั้งปี จึงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการคิดค้นดัดแปลงวัสดุเพาะ วิธีเพาะ และอาหารเสริมเพื่อเพิ่มผลผลิตได้มาก
ลักษณะของการเพาะเห็ดฟางในปัจจุบัน มีอยู่หลายวิธี คือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง, การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย, การเพาะเห็ดฟางจากเปลือกฝักถั่ว, การเพาะเห็ดฟางแบบ โรงเรือน หรืออุตสาหกรรม เป็นต้น
การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงนั้น ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมทำกันนักเพราะใช้เวลาการเพาะนาน อีกทั้งต้องเสียเวลา ในการดูแลรักษานานอีกด้วย
ส่วนวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น กำลังเป็นที่นิยมมากเพราะมีวิธีการทำที่ง่าย ทั้งวัสดุที่ใช้เพาะก็หาได้ง่าย และผลผลิตที่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ในที่นี้จะกล่าวรายละเอียดเฉพาะการเพาะแบบกองเตี้ยเท่านั้น
ทางผู้จัดทำจะนำเสนอเฉพาะ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย และ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เท่านั้น






ลักษณะของการเพาะเห็ดฟางในปัจจุบัน มีอยู่หลายวิธี คือ การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูง, การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย, การเพาะเห็ดฟางจากเปลือกฝักถั่ว, การเพาะเห็ดฟางแบบ โรงเรือน หรืออุตสาหกรรม เป็นต้น
การเพาะเห็ดฟางแบบกองสูงนั้น ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมทำกันนักเพราะใช้เวลาการเพาะนาน อีกทั้งต้องเสียเวลา ในการดูแลรักษานานอีกด้วย
ส่วนวิธีการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น กำลังเป็นที่นิยมมากเพราะมีวิธีการทำที่ง่าย ทั้งวัสดุที่ใช้เพาะก็หาได้ง่าย และผลผลิตที่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ ในที่นี้จะกล่าวรายละเอียดเฉพาะการเพาะแบบกองเตี้ยเท่านั้น
          ทางผู้จัดทำจะนำเสนอเฉพาะ การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย และ การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เท่านั้น




คุณค่าทางอาหาร
เห็ด ฟางสด
เห็ดฟางแห้ง
โปรตีน
3.40%
49.04%
ไขมัน
1.80%
20.63%
คาร์โบไฮเดรท
3.90%
17.03%
เถ้า
-
13.30%
พลังงาน
44 แคลอรี่
4170 แคลอรี่
แคลเซียม
8 มิลลิกรัม
2.35% ของเถ้า
เหล็ก
1.1 มิลลิกรัม
0.99% ของเถ้า
ฟอสฟอรัส
-
30.14% ของเถ้า












ขั้นตอนนี้สำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการเพาะเห็ด ผลผลิตดอกเห็ด จะให้ผลผลิตดีหรือไม่ดี สายพันธุ์เชื้อเห็ดมีส่วน สำคัญมาก ถ้าได้สายพันธุ์ ที่อ่อนแอ ซึ่งเกิดจาก การคัดเลือกดอกที่มาทำพันธุ์ หรือการต่อเชื้อเห็ด หลายครั้งจนเชื้อเห็ดอ่อนแอลง จนทำให้ผลผลิตดอกเห็ดต่ำลง เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรมีสายพันธ ุ์ของตัวเองและควรคัดเลือกจาก ดอกเห็ดใหม่ จะได้สายพันธุ์ที่แข็งแรงและให้ผลผลิตสูง สม่ำเสมอ
1. อาหารเลี้ยงเชื้อเห็ด
อาหารเลี้ยงเชื้อเห็ดจากเนื้อเยื่อดอกเห็ด จะใช้อาหารวุ้น PDA เห็ดทุกชนิดจะเจริญได้ดีในอาหารนี้ มีส่วนผสมและวิธีการดังนี้
อาหารวุ้น P.D.A. มีชื่อย่อมาจาก Patato Dextrose Agar ซึ่งมีความสำคัญมากในการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ด เชื้อเห็ดทุกชนิดสามารถเจริญได้ดีในอาหารนี้
การแยกเชื้อเห็ดจากเนื้อเยื่อ การเก็บรักษาเชื้อเห็ดไว้ หรือการเพิ่มปริมาณเชื้อเห็ด ต้องใช้อาหาร พี.ดี.เอ. เสมอ ส่วนผสมที่สำคัญได้แก่
มันฝรั่ง (Potato)200 กรัม (100 กรัม เท่ากับ 1 ขีด)
น้ำตาลเด็กซ์โตรส (Dextrose)20 กรัม
วุ้น (Agar)15 กรัม
น้ำ (น้ำสะอาด)1 ลิตร
มันฝรั่งปอกเปลือกล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาด 1x1x1 ลูกบาศก์ เซนติเมตร หรือขนาดลูกเต๋า ไม่ควรหั่นเป็นชิ้นบางมาก การเพาะเห็ด เวลาต้มจะเละยากต่อการกรองเอากากออก นำมันฝรั่งนี้ ต้มกับน้ำสะอาด 1 ลิตร น้ำต้องสะอาดไม่เป็นกรดหรือด่าง ต้มให้เดือด เบา ๆ นาน 10-15 นาที ไม่ต้องคนหรือกวน แล้วกรองแยกกาก มันออก น้ำต้มมันที่ได้ต้องเติมน้ำลงไปอีกให้ครบ 1 ลิตร จะมีน้ำ ส่วนหนึ่ง สูญหายไประหว่างการต้ม เติมวุ้น 15 กรัม (วุ้น คือวุ้น สำหรับ ทำขนม จะอยู่ในรูปของวุ้นผง หรือเส้นใช้ได้เหมือนกัน) การใส่วุ้นต้อง ค่อยโรยใส่ลงไป พร้อมกวนตลอดเวลาเพื่อป้องกันวุ้นเกาะกัน เป็นก้อน นำไปต้มอีก ต้องกวนตลอดเวลา พอเริ่มจะเดือดวุ้นก็จะละลายหมด เติมน้ำตาลเด็กซ์โตรส 20 กรัม กวนให้ทั่วก็จะได้อาหาร พี.ดี.เอ.
นำอาหารวุ้น พี.ดี.เอ. ใส่ลงในขวดแบน ให้สูงจากก้นขวดประมาณ 1 เซนติเมตร ระวังไม่ให้อาหารและเปื้อนปากขวด ควรใช้กรวยที่มีก้านยาวหรือหม้อสำหรับกรอกอาหาร ที่มีสายต่อลงในปากขวดได้ อุดจุกปากขวดด้วยสำลี ให้แน่นพอประมาณ ใช้กระดาษห่อทับสำลีอีกชั้นหนึ่ง รัดด้วยหนังยาง อาหารวุ้นที่ใส่ขวดนี้ ยังมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ อื่น ๆ อยู่มากมายการต้มเดือด ไม่สามารถที่จะ
ฆ่าเชื้อได้ทั้งหมด จึงต้องนำไปนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ให้หมดด้วยหม้อนึ่งความดันไอน้ำอีกครั้งหนึ่ง








1. การเตรียมดินบริเวณเพาะเห็ด ควรขุดดินและย่อยให้ละเอียดไว้ก่อน และรดน้ำให้ดินเปียกชุ่ม บริเวณพื้นดินรอบ ๆ กองเพาะเห็ดจะได้เห็ดเพิ่มจาก ฟางบนกองเพาะเห็ดอีกจำนวนหนึ่ง
ไม้แบบ2. ไม้แบบ ไม้แบบเพาะเห็ดใช้ไม้กระดานมาทำเป็นแม่พิมพ์ โดยมีความยาว 120 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร ด้านบนกว้าง 25 เซนติเมตร
3. วัตถุดิบในการเพาะเห็ด จะนิยมฟางข้าวเพราะหาง่ายและมีจำนวนมาก จะใช้ฟางทั้งต้น หรือฟางข้าวนวดก็ได้ ยังมีวัตถุดิบอีกหลายชนิดที่ใช้เพาะเห็ดฟางได้ เช่น เปลือกของฝักถั่วเขียว ถั่วเหลือง ต้นถั่ว เปลือกหิวมันสำปะหลัง ผักตบชวา เศษต้นพืช ต้นหญ้า ปัจจุบันใช้ขี้เลื่อยจากการเพาะเห็ดถุงพลาสติก และผักตบชวา ก็ให้ผลผลิตดี เท่ากับฟาง วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ด ต้องนำไปแช่น้ำให้เปียก ใช้เวลา ในการแช่ประมาณ 30 นาที ก็นำไปเพาะเห็ดได้
4. อาหารเสริม การเพิ่มอาหารเสริมจะเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ที่นิยมคือไส้นุ่น เปลือกของฝักถั่ว ผักตบชวา จอกหูหนู มูลสัตว์ที่แห้งเช่นขี้ควาย ก่อนใช้ต้องแช่ให้ชุ่มน้ำเสียก่อน
5. เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟางที่นำมาใช้ควรมีอายุ 5-10 วัน จะเห็นเส้นใยเจริญเติบโตเต็มถุงสีขาว
6. วัสดุคลุมแปลงเพาะเห็ด โดยทั่วไปจะใช้ผ้าพลาสติกคลุม เป็นการควบคุมความชื้นและรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเจริญของเห็ด ถ้าเพาะในที่โล่งแจ้ง จะใช้ฟางใบมะพร้าว ใบตาล เพื่อป้องการแสงแดด










  • เตรียมดินให้เรียบ พลิกหน้าดินตากแดดไว้ 3-4 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค
  • การเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยใช้ได้ทั้งตอซังและปลายฟางถ้าเป็นตอซังแช่น้ำพออ่อนตัวก็นำมาเพาะได้ ปกติประมาณ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นปลายฟางแข็ง ๆ ควรแช่น้ำประมาณ 1-2 วัน หรือจุ่มน้ำแล้วนำมากองสุมกันไว้ ประมาณ 1 คืนให้อิ่มตัวนิ่มดีเสียก่อนจึงจะ ใช้ได้ดี ถ้าเป็นผักตบชวาหรือต้นกล้วยจะสับหรือไม่สับก็ได้ แต่ต้องแช่น้ำพอนิ่ม ปกติแช่น้ำประมาณ 1-2 ชั่วโมงแล้วนำมาใช้กอง ได้เลย
  • หลังจากแช่น้ำวัสดุที่จะใช้เพาะได้ที่แล้ว ให้นำวัสดุที่ใช้เพาะนั้น ใส่ลงในกะบะไม้ที่วางเอาด้านกว้างซึ่งมีลักษณะป้านลงสัมผัสพื้น ให้ด้านแคบอยู่ข้างบนใส่ให้สูงประมาณ 4-6 นิ้ว ถ้าเป็นตอซังให้วางโคนตอซังหันออกด้านนอกส่วนปลายอยู่ด้านใน ใช้มือกดฟาง ให้แน่นพอสมควร แต่ถ้าเป็นปลายฟางควรขึ้นไปย่ำพร้อมทั้งรดน้ำให้ชุ่ม ข้อควรระวังอย่าให้แฉะหรือแห้งจนเกินไป
  • นำอาหารเสริมที่ชุบน้ำแล้วโรยเป็นแถบกว้างประมาณ 2 นิ้ว รอบ ๆ ด้านทั้งสี่ด้านหนาประมาณ 1 นิ้ว
  • แบ่งเชื้อเห็ดฟางจากถุงซึ่งปกติเชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง หนักประมาณ 200 กรัม ออกเป็น 3-4 ส่วน เท่า ๆ กันจากนั้นโรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วน โดยโรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วและชิดกับขอบของแบบไม้ทั้งสี่ด้านก็เป็นการเสร็จชั้นที่ 1
  • ทำชั้นที่ 2 และ 3 หรือ 4 ต่อไปก็ทำเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 ทุกอย่าง เมื่อทำมาถึงขั้นสุดท้าย ให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้เต็ม ทั่วหลังแปลง
  • นำฟางที่แช่น้ำมาปิดทับให้หนา 1-2 นิ้ว แล้วเอาแบบไม้ออกโดยใช้มือข้างหนึ่งกดกองฟางไว้และทำกองอื่นต่อ ๆ ไป
  • ทำกองอื่น ๆ ต่อไปให้ขนานกบกองแรก โดยเว้นระยะห่างประมาณ 6-12 นิ้ว
  • ช่องว่างระหว่างกองแต่ละกองสามารถใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตได้อีก โดยอาจจะโรยเชื้อเห็ดฟางลงไปบนช่องว่าง ระหว่าง กอง เพราะบริเวณนี้ก็สามารถทำให้เกิดดอกเห็ดได้ จากนั้น รดน้ำดินรอบ ๆ กองให้เปียกชื้น
  • คลุมกองฟางด้วยผ้าพลาสติก โดยใช้ 2 ผืนเกยทับกันตรงกลางคลุมให้สูงกว่ากองฟางเล็กน้อยโดยคลุมเป็นแถว ๆ ถ้าอากาศร้อน ให้คลุมห่าง อากาศเย็นให้คลุมชิดหรืออาจคลุมติดกองเลย ในกรณี อากาศเย็นจัด การคลุมพลาสติกเป็นเรื่องสำคัญที่แต่ละแห่งใน แต่ละ ฤดูจะต้องดัดแปลงไปตามความต้องการของเห็ด คือ ช่วงระยะแรก ราววันที่ 1-2 เชื้อเห็ดต้องการอุณหภูมิประมาณ 35-38 ํซ. และ ในวันต่อ ๆ มาต้องการอุณหภูมต่ำลงเรื่อย ๆ จนราววันที่ 8-10 ซึ่ง เป็นวันที่เก็บผลผลิตนั้นต้องการอุณหภูมิราว 30 องศาเซล เซียส
  • นำฟางแห้งมาคลุม ทับผ้าพลาสติกอีกครั้งหนึ่งจนมิดเพื่อป้องกันแสงแดด แล้วใช้ของหนัก ๆ ทับปลายผ้าให้ติดพื้นกันลมตี






  • 1. การคลุมผ้าพลาสติกแปลงเพาะเห็ด เป็นการรักษาอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อเห็ด โดยในวันที่ 1-3 ไม่ต้องเปิดผ้าพลาสติกเลย
    2. เมื่อถึงวันที่ 3 ให้เปิดผ้าพลาสติกออก เพื่อเป็นการระบายอากาศปล่อยไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร (ในระยะนี้จะสังเกตเห็นเส้นใยของเห็ดเจริญบนอาหารเสริมและฟาง ยังไม่ เกิดดุ่มดอก)
    3. นำฟางแห้งคลุมทับบนแปลง หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วคลุมทับด้วยผ้าพลาสติกเดิมบนฟาง แล้วปิดทับด้วยวัสดุป้องกันแสงบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง อาจจะเป็น ใบมะพร้าวแผง หญ้าคา หรือฟางแห้งก็ได้
    4. ต่อจากวันที่ 4 ของการเพาะให้เปิดแปลงเพาะเห็ดทุกวันเป็นการระบายอากาศและดูแลการเจริญของดอกเห็ดในวันที่ 5 จะเห็นตุ่มเห็ดสีขาวเล็ก ๆ บนฟางของแปลงเพาะเห็ด
    5. ในระยะนี้ถ้ากองเห็ดแห้งให้รดน้ำเบา ๆ เป็นฝอยละเอียดบนฟางคลุมกองและรอบกอง ห้ามรดน้ำแปลงเพาะเห็ดเด็ดขาด จะทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่า ถ้าเป็นฤดูฝนควรคลุมผ้า พลาสติกให้มิดชิด และทำร่องระบายน้ำรอบแปลงเพาะเห็ด
    6. ดอกเห็ดจะพัฒนาเจริญเติบโต และเก็บผลผลิตได้ราววันที่ 7-9 วัน ของการเพาะเห็ด แล้วจะเก็บดอกเห็ดไว้ราว 2-3 วัน ต่อจากนี้ไปจะได้ผลผลิตน้อย (ถ้าใช้ฟาง 10 กิโลกรัม จะได้ดอกเห็ด 1-2 กิโลกรัม)
    7. การเก็บผลผลิต การเก็บดอกเห็ดจะนิยมเก็บในตอนเช้า ๆ เพาะดอกเห็ดจะตูมเต็มที่ในช่วงตี 3-4 ถ้าช้ากว่านี้ดอกเห็ดจะบานจะขายไม่ได้ราคา การเก็บดอกให้ใช้มือจับตรง โคนดอกโยกนิดหน่อยแล้วดึงออกมา ถ้าติดกันหลาย ๆ ดอกให้เก็บทั้งหมด อย่าให้มีชิ้นส่วนขาดหลงเหลืออยู่จะทำให้เน่าและเห็นสาเหตุการเน่าเสียของดอกเห็ดได้











     
    ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางแบบเตี้ย และการทำเชื้อเห็ดฟาง แบบคลิปวิดีโอ


    การเก็บเห็ดฟาง









    เมื่อกองฟางเพาะเห็ดไปแล้ว 5-7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ 
    เกิดขึ้น ตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นเห็ดต่อไปเกษตรกร
    จะเริ่ม เก็บเห็ด ได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7-10 วัน แล้วแต่
    ความร้อน และการที่จะเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับวิธีการ
    เพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดู
    หนาว เพราะความร้อน ช่วยเร่งการเจรญเติบโตของเห็ดนอก
    จากนั้น ถ้าใส่อาหารเสริมด้วย แล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็ว
    กว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้า
    มีดอกเล็ก ๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ดขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับ ทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวา
    เล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน

    ข้อดีของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

    1. การเพาะกองเตี้ยสามารถใช้วัสดุเพาะได้มาก  เช่น  ตอซัง  กองฟาง  ผักตบชวา  ต้นกล้วย  ฝักถั่วลิสง  ไส้นุ่น  เปลือกถั่วเขียว  ฯลฯ
       2. ใช้แรงงานน้อย
       3. วิธีการเพาะง่าย  สะดวกและดูแลรักษาง่าย
       4. ไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อเห็ดฟางมาก  แต่ได้ผลผลิตคุ้มค่า
       5. ระยะเวลาในการผลิตสั้นและสามารถกำหนดวันที่ให้ผลผลิตได้แน่นอน
       6. สามารถเพาะในเนื้อที่ที่จำกัดได้

     

    ข้อเสีย ของการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ย

        1.  ใช้อุปกรณ์ในการเพาะเห็ด ค่อนข้างมาก
        2.  ต้องใช้อาหารเสริม
        3.  เพาะในฤดูหนาวมักมีปัญหาเรื่อความร้อนไม่พอ
        4.  ผลผลิตจะออกมามากครั้งเดียว  โดยเก็บติดต่อกัน  2-3  วันก็หมด 
    ข้อแนะนำเพิ่มเติม
    1. ในการเพาะเห็ดฟางแบบกองเตี้ยนั้น หากมีการเพาะหลาย ๆ กองเรียงกันแล้ว จะสามารถใช้ประโยชน์จากเนื้อที่ระหว่างกองแต่ละกองได้อีกด้วย เนื่องจากขณะรดน้ำก็จะมีธาตุอาหาร อาหารเสริม เส้นใยเห็ดที่ถูกน้ำชะไหลลงไปรวมอยู่บริเวณพื้นที่ระหว่างกอง จึง ทำให้บริเวณนั้นมีอาหารครบถ้วนต่อการเกิดดอกเห็ด และยิ่งถ้าให้ ความเอาใจใส่ดูแลอย่างดี หมั่นตรวจดูความชื้น อุณหภูมิ ให้เหมาะสม ต่อการเกิดดอกด้วยแล้ว พื้นที่ระหว่างกองนั้นก็จะให้ดอกเห็ดได้ อีกด้วย
    2. ฟางที่จะใช้สำหรับการเพาะนั้นจะใช้ตอซัง หรือจะใช้ฟางที่ ได้จากเครื่องนวดข้าวก็ได้
    3. หลังจากเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว ควรเอากองเห็ดหลาย ๆ กอง มาสุมรวมกันเป็นกองใหม่ให้กว้างประมาณ80 ซมทำแบบการเพาะ เห็ดกองสูง แล้วรดน้ำพอชุ่มคลุมฟางได้สัก 6-8 วัน ก็จะเกิดดอกเห็ด ได้อีกมากพอสมควรเก็บได้ประมาณ10-15 วันจึงจะหมด วัสดุที่ใช้นี้ หลังจากเพาะเห็ดฟางแล้วสามารถนำไปเพาะเห็ดอย่างอื่นได้อีกด้วยโดยแทบไม่ต้องผสมอาหารเสริมอื่น ๆ ลงไปอีกเลย หรือจะใช้เป็น ปุ๋ยหมักสำหรับต้นไม้ก็ได้ มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับปุ๋ยอินทรีย์ที่ กทม.ขายอยู่นั้นมาก
    4. เมื่อเก็บดอกเห็ดหมดแล้ว นำฟางจากกองเห็ดเก่านี้ไปหมักเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชอื่น ๆ ต่อไป หรือนำฟางที่ได้จากการเพาะเห็ด ไปเพาะเห็ดนางรม เป๋าฮื้อ ก็ได้
    5. การขุดดินตากแดด สัปดาห์ ย่อยให้ดินร่วนละเอียด จะทำให้ผลผลิตเห็ดได้มากกว่าเดิมอีก 10-20%เพราะเห็ดเกิดบนดิน รอบ ๆ ฟางได้
          6.การเปลี่ยนวิธีคลุมกองเห็ดตั้งแต่วันที่ นับจากการเพาะ เป็นต้นไป ให้เป็นแบบหลังคาประทุนเรือจะทำให้ได้เห็ดเพิ่มขึ้น
    การปลูกเห็ดฟางในตะกร้า
    วัสดุและอุปกรณ์

    1
    . ตะกร้าพลาสติก (ตะกร้าใส่ผลไม้) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง



    ประมาณ 18 นิ้ว สูงประมาณ 11 นิ้ว มีตาห่างประมาณ 1 นิ้ว มี


    จำนวนช่องเป็นแถวจากล่างขึ้นบน 7 ช่อง ก้นตะกร้าไม่ทึบช่วย


    ให้ระบายน้ำได้ดี
    2. วัสดุเพาะ ที่นิยมได้แก่ ฟางข้าว, เปลือกถั่ว, ชานอ้อย 


    เป็นต้น
    3. อาหารเสริม เป็นวัสดุที่ช่วยให้เชื้อเห็ดฟางช่วงแรกที่ใส่ลง


    วัสดุเพาะเจริญได้ดีก่อนที่ เชื้อเห็ดฟางจะเจริญในวัสดุเพาะ 


    อาหารเสริมต้องเป็นวัสดุที่ย่อยได้ง่าย เช่น
    3.1 ผักตบชวา หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หั่นเฉียงแบบปลาฉลามขนาด 


    1-2 เซนติเมตร ใช้ได้ ทั้งต้น ใบ ราก จะใช้ผักตบชวาแห้งก็ได้


    3.2 ไส้นุ่น ก่อนนำมาใช้ชุบน้ำพอหมาด


    3.3 ต้นกล้วย หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ นอกจากนี้อาจจะใช้แป้งสาลีหรือ


    รำละเอียดอย่างใดอย่างหนึ่งนำมาคลุกเชื้อเห็ดฟาง ก่อนก็ได้
    4. เชื้อเห็ดฟางที่ดี ถ้าเป็นแบบหัวเชื้อถุง 1 ถุง เพาะได้ 3 


    ตะกร้า หรือ เชื้อถุงเล็ก เพาะได้ 1 ตะกร้า
    5. พลาสติกคลุมวัสดุเพาะขณะเพาะเห็ดฟางในตะกร้า จะใช้


    พลาสติกใสหรือสีก็ได้ ขนาด 4x4 เมตร หรือจะใช้ถุงพลาสติก


    เย็บติดต่อกัน เป็นผืนก็ได้หรือใช้พลาสติกใสขนาดกว้าง 2x4 


    เมตรก็ได้
    6. วัสดุ+อุปกรณ์อื่นๆ เช่น บัวรดน้ำชนิดฝอยละเอียด, ไม้ทุบ


    ก้อนเชื้อเห็ด, เกรียงไม้(สำหรับอัดวัสดุเพาะเห็ด)
    7. โครงไม้ไผ่หรือสุ่มไก่ สำหรับครอบตะกร้าเพาะเห็ดฟาง

    การเตรียมวัสดุ+อุปกรณ์ในการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

    1.การเตรียมพื้นที่เพาะเห็ด
    1.1 ใต้ร่มไม้ หรือใต้ถุนบ้านก็ได้


    1.2 ปรับพื้นที่ทำความสะอาด


    1.3 กำจัดมด ปลวก ให้เรียบร้อย โดยโรยปูนขาวให้ทั่วก่อน


    เพาะ 2-3 วัน รดน้ำพอให้พื้นที่ชุ่มชื้นพอสมควร
    2. การเตรียมวัสดุเพาะ ฟางข้าวหรือเปลือกถั่วเขียว ชานอ้อย 


    อย่างใดอย่างหนึ่ง นำมาแช่น้ำก่อนเพาะ 1 คืน จากนั้นนำขึ้น


    จากน้ำ พร้อมที่จะนำไปเพาะได้
    3.การเตรียมอาหารเสริม นิยมใช้ผักตบชวาสด เนื่องจากได้ผล


    ดีที่สุด นำมาหั่นยาว ½ เซนติเมตร หั่นเฉียงถ้าใช้ไส้นุ่น 


    ต้องแช่น้ำประมาณ 15 นาที บางคนใช้ขี้ไก่แห้งผสมดิน


    อัตราส่วน 1:3 ควรเคล้าให้เข้ากันดี สามารถนำไปใช้ได้เลย
    4. น้ำที่ใช้เพาะเห็ดฟาง ควรเป็นน้ำที่สะอาด จาก บ่อ หนอง 


    คลอง หรือน้ำบาดาล ส่วนน้ำประปาที่ผสมคลอรีนใช้ไม่ได้
    5. ตะกร้าพลาสติก ถ้าเป็นตะกร้าใหม่ใช้ได้เลย แต่ถ้าเป็น
    ตะกร้าเก่า ต้องทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ ตากแดดไว้สักครึ่งวัน
    6. การเตรียมเชื้อเห็ดฟาง เชื้อเห็ดฟางขนาด 1 ปอนด์ ใช้
    อัตราส่วน 1 ถุง ต่อ 3 ตะกร้า

    ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า

    ขั้นตอนที่ 1 นำวัสดุที่เตรียมไว้แล้ว ใส่ลงในตะกร้าสูงจาก



    ตะกร้าประมาณ 1 ฝ่ามือ หรือสูง 2-3 นิ้ว กรณีถ้าเป็นขี้เลื่อยใช้


    เกรียงไม้กดขี้เลื่อยให้พอแน่นและให้ชิดขอบตะกร้า ให้มาก


    ที่สุด

    ขั้นตอนที่ 2 โรยอาหารเสริมที่เตรียมไว้ประมาณ 1 ลิตร หรือ 1 


    ชั้น บนขี้เลื่อยชิดข้างขอบตะกร้าประมาณ 1 ฝ่ามือ โดยรวม 


    อย่าโรยอาหารเสริมหนาเกินไปเพระจะเกิดเน่าเสียได้

    ขั้นตอนที่ 3 นำเชื้อเห็ดฟางออกจากถุง นำมาแยกออกเป็นชิ้นๆ 


    นำไปคลุกกับแป้งสาลีพอติดผิวนอกของเชื้อเห็ด แป้งสาลีจะ


    เป็นอาหารเบื้องต้นที่ช่วยกระตุ้นให้เชื้อเห็ดเจริญดีในระยะแรกๆ 


    และแบ่งเชื้อเห็ดออกเป็น 3 ส่วน เท่าๆกัน นำส่วนที่ 1 โรยบน


    อาหารเสริมโดยรอบ

    ขั้นตอนที่ 4 นำวัสดุเพาะชั้นที่ 2 ทำเหมือนชั้นที่ 1
    ขั้นตอนที่ 5 ทำเหมือนขั้นที่ 1, 2 ชั้นที่ 3 จะต้องโรยอาหาร


    เสริม เต็มผิวด้านบนหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วโรยเชื้อเห็ดฟาง


    โดยรอบ
    ขั้นตอนที่ 6 นำน้ำประมาณ 2 ลิตร มารดด้านบนวัสดุให้ชุ่ม


    เสร็จแล้วนำตะกร้านี้ไปวางไว้บนพื้นที่ในโรงเรือนที่เตรียมไว้
    ขั้นตอนที่ 7 นำตะกร้ามาเรียงกัน 4-5 ใบเสร็จแล้ว จะใช้สุ่มไก่


    ครอบคลุมไว้
    ขั้นตอนที่ 8 นำผ้าพลาสติกมาคลุมสุ่มไก่ด้านล่างควรหาอิฐ 


    หรือดินทับโดยรอบ
    ขั้นตอนที่ 9 การดูููแล ในช่วง 1-4 วันแรก (ในฤดูร้อนหรือฤดูฝน) 


    ส่วนในฤดูหนาวช่วง 1-8 วัน
    ต้องควบคุมอุณหภูมิในสุ่มไก่ให้ได้ระดับ 37-40 องศา


    เซลเซียส
    * ถ้าหากอุณหภูมิสูงเกินไป ให้เปิดช่องลมระบายอากาศด้าน


    บน หรือรดน้ำรอบสุ่มไก่เพื่อลดอุณหภูมิลงก็ได้
    ขั้นตอนที่ 10 เมื่อถึงวันที่ 4 (ฤดูร้อนหรือฝน) ให้เปิดพาสติก


    คลุมอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้มีอาการถ่ายเทอากาศ เพื่อ


    ให้เส้นใยเห็ดฟางสร้างจุดกำเนิดดอกปกติรดน้ำเพียงเล็กน้อย


    ถ้าวัสดุเพาะ แห้งเกินไป การรดน้ำจะเป็นการตัดเส้นใยเชื้อเห็ด 


    ซึ่งจะกระตุ้นการสร้างจุดกำเนิดดอกได้ด้วย
    ขั้นตอนที่ 11 ระหว่างวันที่ 5-8 ต้องควบคุมอุณหภูมิในสุ่มไก่


    หรือกระโจมไม้ให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส และเมื่อ


    เห็ดเป็นดอกเล็กๆ จำนวนมาก ห้ามเปิดพลาสติกบ่อยครั้งเพราะ


    จะทำให้ดอกเห็ดฝ่อได้
    ขั้นตอนที่ 12 การเก็บเกี่ยวผลผลิต ประมาณวันที่ 8-9 ในฤดู


    ร้อนหรือวันที่ 12-15 ในฤดูหนาว
              ขั้นตอนการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า  แบบคลิปวิดีโอ
                        การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า part 1
                         การเพาะเห็ดฟางในตะกร้า part 2
    การเก็บเห็ดฟาง
    เมื่อกองฟางเพาะเห็ดไปแล้ว 5-7 วัน จะเริ่มเห็นตุ่มสีขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้น ตุ่มสีขาวเหล่านี้จะเจริญเติบโตเป็นเห็ดต่อไปเกษตรกรจะเริ่ม เก็บเห็ด ได้เมื่อเพาะไปแล้วประมาณ 7-10 วัน แล้วแต่ความร้อน และการที่จะเก็บเห็ดได้เร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับวิธีการเพาะและฤดูกาล คือ ฤดูร้อนและฤดูฝนจะเก็บเห็ดได้เร็วกว่าฤดูหนาว เพราะความร้อน ช่วยเร่งการเจรญเติบโตของเห็ดนอกจากนั้น ถ้าใส่อาหารเสริมด้วย แล้ว จะทำให้เกิดดอกเห็ดเร็วกว่าไม่ใส่อีกด้วย ดอกเห็ดที่ขึ้นเป็นกระจุก มีทั้งอ่อนและแก่ ถ้ามีดอกเล็ก ๆ มากกว่าดอกใหญ่ ควรรอเก็บเมื่อดอกเล็กโตหรือรอเก็บชุดหลัง เก็บดอกเห็ดขึ้นทั้งกระจุกโดยใช้มือจับ ทั้งกระจุกอย่างเบาๆ แล้วหมุนซ้ายและขวา
    เล็กน้อย ดึงขึ้นมาพยายามอย่าให้เส้นใยกระทบกระเทือน
    รูปแบบกระโจมที่ใช้เพาะเห็ดฟางในตะกร้า
    กระโจมแบบเต็นท์ลูกเสือ

    กระโจมแบบสุ่มไก

    การเก็บรักษาหลังเก็บเกี่ยวแล้วให้รองด้วยกระดาษที่ไม่เป็นมัน เช่นกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้(ระวังสารตะกั่วนิด) แต่ห้ามแช่ตู้เย็น จะทำให้เห็ดบานราคาไม่ค่อยดี เห็ดตูมราคาจะมีราคาดีกว่า

    ประสบการณ์ผู้ที่ขายเห็ดฟางมาแล้ว










    อาชีพทำนาเพียงอย่างเดียวรายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายของ
    สมาชิกในครอบครัว เหตุผลพื้นๆนี้เป็นแรงผลักให้ "ชัยยา มงคล
    ศิลป์" วัย 43 ปี เกษตรกรชาว ต.มาบโป่ง อ.พานทอง จ.ชลบุรี
    ดิ้นรนหาอาชีพเสริม และการเพียรหาความรู้อย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับ
    "เห็ดฟาง" พร้อมลงมือทำจริงด้วยแบ่งพื้นที่นา 2 ไร่ สร้างโรงเรือน
    เพาะจำหน่าย ทำให้วันนี้เขายืนด้วยลำแข้งได้อย่างมั่นคง เพราะ
    รายได้ที่เข้ามาถึงเดือนละ 3-4 หมื่นบาท
    "ชัยยา" เล่าถึงที่มาก่อนเพาะเห็ดฟางขายว่า ยึดอาชีพทำนาบน
    พื้นที่ 6 ไร่ แต่พอสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวไม่มีอะไรทำก็ตระเวนออกทำงาน
    รับจ้างทั่วไป แต่ระยะหลังผลผลิตจากนาข้าวมีปัญหา ราคาตกต่ำ
     อีกทั้งต้นทุนการผลิตสูงขึ้น หลายครั้งขาดทุน จึงทำให้คิดหา
    อาชีพเสริม กระทั่ง อบต.มาบโป่ง จัดประกวดความสำเร็จในการ
    ประกอบอาชีพของแต่ละหมู่บ้าน เขาได้ไปร่วมงานด้วย 
    และสนใจอาชีพเพาะเห็ดฟาง จึงสอบถาม
    และเรียนรู้จากเกษตรกรผู้ประสบความสำเร็จ
    "กลับถึงบ้าน รุ่งขึ้นผมตัดสินใจควักเงินเก็บที่มีอยู่ราว 3 หมื่นบาท
     สร้างโรงเรือนเลย จากนั้นไปหาซื้อเชื้อเห็ดมาเพาะ 
    ใส่ปุ๋ยยูเรียเต็มที่ ทำตามขั้นตอนทุกอย่าง แต่ไม่รู้พลาดตรงไหน
     ผลคือล้มเหลวไม่เป็นท่า เห็ดไม่เกิดเลย ขาดทุนยับ" ชัยยา 
    เล่าถึงความล้มเหลวครั้งแรก เมื่อปี 2548
    เมื่อเงินเก็บไม่เหลือหรอ ด้วยไม่อยากเป็นหนี้ใคร ชัยยาจึงหา
    ทางออกด้วยการตระเวนรับจ้างทาสีบ้านอยู่ราวปีเศษ 
    เพื่อหารายได้ช่วยเหลือครอบครัว และเพื่อเป้าหมายในการเพาะ
    เห็ดฟางต่อ จึงกันเงินส่วนหนึ่งเก็บไว้เป็นทุน ต่อเมื่อกลับบ้าน
    จึงหุ้นกับน้องชายสานต่ออาชีพเพาะเห็ดฟางอีกครั้ง
    "ครั้งนี้ลงทุนเพียง 3,000 บาท เพราะโรงเรือนมีอยู่แล้ว ออกหา
    ข้อมูล 
    ลงพื้นที่ไปดูการปลูกเห็ดฟางจริงในหลายพื้นที่ หลายแห่ง
    ปิดบังข้อมูล บอกไม่หมด จึงต้องหาประสบการณ์ด้วยตนเอง และ
    จึงรู้ว่าครั้งแรกที่ล้มเหลวนั้นเพราะใส่ปุ๋ยยูเรียมากไป" ชัยยา เล่า ซึ่ง
    นั่นทำให้เขาต้องหันมาเอาใจใส่เรื่องของปุ๋ย ตลอดจนรายละเอียด
     อาทิ อุณหภูมิการอบ การให้ความร้อนการฆ่าเชื้อ การให้น้ำที่
    อุณหภูมิพอเหมาะ เป็นต้น
    เมื่อแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้ ครั้งนี้ทำให้เขาประสบผลสำเร็จ จากโรง
    เรือนเดียวใช้เวลาเดือนเศษทำกำไรได้ 3,000-4,000 บาท นั่น
    ทำให้ชัยยาขยายโรงเรือนจาก 1 หลัง เพิ่มเป็น 20 หลัง 
    ขนาด 4x6 เมตรในพื้นที่ 2 ไร่ เมื่อปี 2550 
    คราวนี้เหลือเงินหลังหักค่าใช้จ่ายถึงเดือนละ 3-4 หมื่นบาท
    ส่วนเชื้อเห็ดฟางที่นำมาเพาะนั้น จะมีผู้มาส่งให้จากจ.พระนครศรีอยุธยา 
    สระบุรี ลำปาง ส่วนตลาดจะมีผู้มาซื้อถึงบ้าน
    ราคาขึ้นอยู่กับผลผลิตมากน้อยในแต่ฤดูกาล
    แต่ราคาส่งต้องไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 50 บาท ไม่เช่นนั้นขาดทุน
    กว่า 3 ปีแล้วที่ชัยยายึดอาชีพเพาะเห็ดฟาง ถึงวันนี้นอกจากมีราย
    ได้เดือนละ 3-4 หมื่นบาทแล้ว เขายังเป็นผู้ประสานให้แก่เกษตรกร
    ที่ต้องการเพาะเห็ดฟาง ทั้งเชื้อเห็ด ปุ๋ย ทุกวันนี้สภาพชีวิตดีขึ้น มี
    ทั้งบ้าน รถยนต์ สำหรับคนบ้านนอกก็มีความสุขแล้ว


    ที่มา : หนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552
    http://www.komchadluek.net/2009/02/26/x_agi_b001_339079.php?news_id=339079

    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเพาะเห็ดฟางขายรายได้ดี เป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ให้กับครอบครัวนายสัมพันธ์ น่าเยี่ยม ตกเดือนละ ไม่ต่ำ 30,000- 50,000 บาท ส่งขายให้กับแม้ค้าในตลาดสดเทศบาลเมืองกระบี่และร้านอาหาร พร้อมรับบทบาทวิทยากรถ่ายทอดความรู้สู่ชาวบ้านตอบแทนสังคม
                จากชีวิตที่เคยทำการเกษตรมาโดยตลอดเวลา โดยยึดอาชีพการทำสวนยางพารา ซึ่งมีอยู่จำนวน 50 ไร่เศษ ซึ่งทำรายได้ให้กับครอบครัวของนายสัมพันธ์ น่าเยี่ยม เป็นกอบเป็นกำเนื่องจากราคายางพาราอยู่ในช่วงที่มีราคาสูง ถึงแม้ในบางครั้งจะมีการปรับเปลี่ยนราคาบ้างก็ไม่มีผลกระทบกับครอบครัวแต่อย่างใด แต่สิ่งหนึ่งที่นายสัมพันธ์คิดอยู่ตลอดเวลาคือการหารายได้เพิ่มเติมเข้าครอบครัว โดยที่คนในครับครอบสี่ชีวิตสามารถที่ช่วยเหลือกันได้ การเพาะเห็ดฟางเป็นสิ่งที่ครอบครัวของนายสัมพันธ์ ให้ความสนใจที่ทำเป็นอาชีพเสริม ความจริงแล้วการเพาะเห็ดฟางของครอบครัวนายสัมพันธ์ น่าเยี่ยม นั้นได้เพาะเห็ดฟางเพื่อใช้บริโภคภายในบ้าน ไม่ได้ส่งขายแต่อย่างใด โดยเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2523 แต่เริ่มมาทำอย่างจริงจังและมีการส่งขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดมหาราชเทศบาลเมืองกระบี่ รวมทั้งการส่งขายตามร้านอาหารในปี 2535 เริ่มมีการก่อสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง เตาอบสำหรับอบก้อนเพาะเชื้อ โรงเก็บวัตถุดิบบนพื้นที่บริเวณบ้านเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ ใช้เงินลงทุนจากกระเป๋าตัวเองทั้งหมด โดยไม่ต้องพึ่งพาภาครัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่อย่างใด เพราะมันไม่ใช่การพึ่งตนเองเหมือนที่ครอบครัวของนายสัมพันธ์ตั้งใจเอาไว้ การเพาะเห็ดฟางของนายสัมพันธ์ ใช้วัสดุในท้องถิ่นเป็นหลักเช่นขี้เลื้อย จากโรงงานแปรรูปไม้ยางพาราจาก ซึ่งซื้อมาตันละ 800 บาท มาผสมส่วนประกอบต่างๆที่เป็นสูตรเฉพาะของนายสัมพันธ์ ได้แก่ ขี้เลื้อย 300 กิโลกรัม, รำ 15 กิโลกรัม, ปูนขาว 3 กิโลกรัม ,ดีเกลือ 06 ขีด,ยิปซัม 1.5 กิโลกรัม ,ซีโกร 300 ซีซี คลุกเคล้าให้เข้ากัน รสน้ำให้เกาะตัวพอประมาณห้ามเปียก บรรจุใส่ถุงที่เรียกว่าก้อนเพาะเชื้อ น้ำหนัก 89 ขีด ขนาดกว้างของก้อนเพาะเชื้อ 6x10 นำก้อนเพราะเชื้อใส่ตู้อบ ใช้อุณหภูมิ 90 องศาเชลเชียส ใช้เวลาในการอบประมาณ 4 ชั่วโมง เพื่อทำการฆ่าเชื้อ เมื่อครบ 4 ชั่วโมงแล้วนำออกมาจากตู้อบทิ้งไว้ให้อุณหภูมิลดลง แล้วหยดหัวเชื้อเห็ดฟาง แล้วนำก้อนเพาะเชื้อไปตั้งบนชั้นภายในโรงเรือนเพาะเห็ดฟาง ทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตออกขายได้ มีทั้งนางฟ้าครีม,อังการี,และนางฟ้าภูฐาดำ ในราคาขายส่ง กิโลกรัมละ 50 บาท ให้กับพ่อค้าแม้ค้าในตลาดสดมหาราชเทศบาลเมืองกระบี่ และร้านอาหารในตัวเมืองกระบี่ โดยสามารถเก็บเห็ดฟางขายได้วันละไม่ต่ำกว่า 200-300 กิโลกรัม ทำให้มีรายได้เสริมจากการเพราะเห็ดฟางวันละ 10,000 – 15,000 บาท
                นอกจากนั้นครอบครัวนายสัมพันธ์ ยังทำการผลิตก้อนเพาะเชื้อขายในราคาก้อนละ 10 บาทให้กับชาวบ้านผู้ที่สนใจในพื้นที่ใกล้เคียงนำไปเพาะเห็ดฟางขายเป็นอาชีพเสริมเลี้ยงครอบครัว ปัจจุบันครอบครัวนายสัมพันธ์ น่าเยี่ยมมีรายได้เสริมจาการเพราะเห็ดฟางขายรวมกับขายก้อนเพาะเชื้อเดือนละไม่ต่ำกว่า 30,000- 50,000 บาท


          นายสัมพันธ์ น่าเยี่ยม อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 83.3 .ไสไทย อ.เมือง จ.กระบี่ เล่าว่า คนเราเมื่อเกิดมาแล้วมีครอบครัวต้องเลี้ยงดูครอบครัวเป็นสัจจะธรรมของมนุษย์ การทำมาหากินการพึ่งตัวเองเป็นสิ่งสำคัญไม่ว่ายุคสมัยใดก็ตาม ผมเป็นคนที่ไม่เคยดูถูกชีวิตหรืออาชีพที่เราทำอยู่ในปัจจุบัน การกรีดยางพาราเป็นอาชีพที่สุจริต ถึงแม้จะไม่มีหน้ามีตาในสังคมก็ตาม ผมมีรายได้จากการกรีดยางพาราเป็นหลักอยู่แล้ว ถึงผมจะไม่ทำอะไรครอบครัวของผมก็อยู่ได้โดยไม่ลำบาก
          แต่การที่เรามองหารายได้เสริมให้กับครอบครัวเป็นเรื่องที่ผมมองแล้ว เป็นสิ่งที่มีคุณค่าในฐานะที่เกิดเกิดมาเป็นมนุษย์ที่จะต้องพัฒนาตนเองพัฒนาครอบครัวให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การเพาะเห็ดฟางเป็นอาชีพเสริมที่ผลเลือกและก็ทำรายได้ให้กับครอบครัวของผมได้อย่างคุ้มค่า ปัจจุบันผมมีรายได้จาการกับการเก็บเห็ดฟางขายทุกวัน ผมมีรายได้ตกวันละไม่ตำกว่า 10,000 บาท ผมมีความสุขครับที่ครอบครัวผมมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการพึงตนเอง
          นายสัมพันธ์ เล่าให้ฝังอีกว่า ปัจจุบันผมได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.3.ไสไทย ทำให้ผมมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ผมจึงนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเพาะเห็ดฟางมาอบรมรมให้กับชาวบ้านที่สนใจ เพื่อให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้ มีรายได้เพิ่มขึ้น หรือไม่ก็เพื่อไว้บริโภคในครอบครัว ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจที่ความรู้และประสบการของผมสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ สังคมปัจจุบันคือการให้ ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ให้เพื่อทำเขามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น คือการให้ที่ถูกต้อง นายสัมพันธ์ น่าเยี่ยมกล่าวทิ้งท้าย
                                           แหล่งที่มา
    http://ifarm.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=65:straw-mushroom-cultivation&catid=129:2011-05-04-04-48-12&Itemid=324
    http://www.tu.ac.th/org/clinictech/page/mushroom.htm
    http://www.vegetweb.com/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%9F%E0%B8%B2%E0%B8%87/
    http://www.ku.ac.th/e-magazine/october43/mush/
    www.prd.go.th/ewt_dl_link.php?nid=1903
    http://www.phtnet.org/news52/view-news.asp?nID=140